แผ่นไทเทเนียม/ท่อไทเทเนียม/เพลาไทเทเนียม/เส้นแบนไทเทเนียม/ลวดเชื่อมไทเทเนียม/ลวดทำสปริงไทเทเนียม

ท่อไทเทเนียม แผ่นไทเทเนียม เพลาไทเทเนียม ลวดเชื่อมไทเทเนียม ลวดไทเทเนียม เส้นแบนไทเทเนียม

#109titantium #ท่อไทเทเนียม #เพลาไทเทเนียม #ลวดไทเทเนียม


คุณสมบัติไทเทเนียมประกอบด้วย ความแข็งแกร่งสูง, ความแข็งแรงตึง, ความเหนียว, ความหนาแน่นต่ำ และป้องกันการกัดกร่อน ได้จากไทเทเนียมอัลลอยด์แบบต่างๆที่อุณหภูมิต่ำ จนถึงที่อุณหภูมิสูง นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบาเหมาะแก่งานทางด้านการบิน และงานอื่นๆที่ต้องการประสิทธิภาพสูง

มวลอะตอมของไทเทเนียมคือ 47.88 ไทเท้นียมมีน้ำหนักเบา, แข็งแรง, ป้องกันการกัดกร่อน และหาง่าย ไทเทเนียมและไทเทเนียมอัลลอยด์มีค่าความเค้นดึงตั้งแต่ 30,000 psi ถึง 200,000 psi (210-1380 MPa) ซึ่งเป็นค่าความแข็งแกร่งที่พบ ได้ในเหล็กอัลลอยด์ส่วนมาก.

ไทเทเนียมเป็นธาตุที่มีความหนาแน่นต่ำ (ประมาณ 60% ของความหนาแน่นของเหล็ก) ซึ่งสามารถทำให้แข็งแรงได้เพียงพอโดยกระบวนการเจือ และการขึ้นรูปโดยไม่เสียเนื้อโลหะ ไทเทเนียมไม่มีสภาวะแม่เหล็ก และถ่ายเทความร้อนได้ดี ค่าสัมประสิทธิ์ทางความร้อนต่ำกว่าเหล็ก และน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอลูมิเนียม

คุณสมบัติหนึ่งของไทเทเนียมคือมีจุดหลอมเหลวที่ 3135°F (1725°C) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวมากกว่ าเหล็ก อยู่ประมาณ 400°F และมีจุดหลอมเหลวมากกว่า อลูมิเนียม

ไทเทเนียมสามารถสร้างแผ่นฟิล์มป้องกันได้ และจะแสดงการป้องกันระดับสูงเมื่อถูกโจมตีโดยกรดแร่ และคลอไรด์ ไทเทเนียมไม่เป็นพิษ และในทางชีวะภาพไทเทเนียมสามารถเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อ และกระดูกของคน ความสามารถในการป้องกันการกัดกร่อนที่ดีเยี่ยม และความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่ายกาย ประกอบกับความแข็งแกร่ง ทำให้ไทเทเนียมถูกใช้งานในด้านเคมี และงานด้านปิโตรเคมี, สภาพแวดล้อมในทะเลและงานไบโอแมททีเรียล

ไทเทเนียมไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีนัก ถ้าเปรียบเทียบกับ ทองแดง โดยให้ทองแดงนำไฟฟ้าได้ 100% แล้วไทเทเนียมจะสามารถนำไฟฟ้าได้เพียง 3.1% ด้วยเหตุนี้ไทเทเนียมจึงไม่ถูกใช้ในการทำเป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อทำการเปรียบเทียบในกรณีเดียวกัน เหล็กกล้าไร้สนิม จะมีสภาพการนำไฟฟ้าอยู่ 3.5% และอลูมิเนียมจะมีสภาพการนำไฟฟ้าอยู่ 30%

ความต้านทานไฟฟ้าจะตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนตัวของอิเล็คตรอน และไทเทเนียมเป็นตัวนำที่แย่ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นตัวต้านทานที่พอใช้ได้

ฐานข้อมูลของ Total Materia และรวดเร็วในการเข้าถึงคุณ สมบัติทางกล, ส่วนประกอบทางเคมี, ตารางตัวอ้างอิงโยง และอื่นๆ ที่ได้เตรียมไว้ให้กับผู้ใช้งานด้วยข้อมูลจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อทดลองใช้งานฐานข้อมูลของ Total Materia

Visitors: 77,550